อ้างอิง ของ ตำบลทุ่งมน (อำเภอปราสาท)

  1. อาจจะเป็นราวหลังการเซ็นสนธิสัญญาเบาริงระหว่างอังกฤษกับสยามใน พ.ศ. ๒๓๙๘ ที่มีผลให้การผลิตข้าวของไทยจากระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพมาเป็นผลิตเพื่อขาย – ส่งออกไปต่างประเทศและ มีการเก็บภาษีรัชชูปการ หรือการ “เสียค่าหัว” คนละ ๔ บาทต่อปี และเงินศึกษาพลี คนละ ๒ บาทต่อปี นับแต่ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ ในสังคมประเพณีที่ไม่ต้องใช้เงินตรา เงินจำนวนนี้ที่เรียกเก็บจากชาวบ้านจน ๆ เพียงเท่านี้ก็เป็นภาระอันใหญ่หลวง ถ้าหาเงินมาเสียค่าหัวไม่ได้ก็จะถูกเกณฑ์มาใช้แรงงานในลักษณะ “อนาถา” และให้ความรู้สึกต่ำต้อยเสียศักดิ์ศรีมาก แล้วยังมีเงินศึกษาพลีที่เรียกเก็บเพิ่มอีก ทำให้เกิดความเดือดร้อนกันทั่วไปเป็นเวลานานจนถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. ๒๔๗๕ : เพิ่มเติมข้อมูล วิถีไท ; ภูมิปัญญาสู่ชุมชนบูรณาการ : ๒๕๔๔, ๕๖